วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ            
             ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษยชน


สิทธิมนุษยชน             
             สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ   อ่านน.


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฎหมาย


ข้อตกลงระหว่างประเทศ
        ในปี พ.ศ. 2524 UNEP ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อวางโครงร่างว่าด้วยการป้องกันชั้นโอโซนแม้จะยังไม่ได้มีข้อปฏิบัติแต่นับได้ว่าเป็นมาตรการในการเจรจาระหว่างประเทศฉบับแรกเกิดขึ้นและในเดือนมีนาคมค.ศ.1985(2528)UNEPได้ร่วมกันเจรจาจัดทำอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยเรื่องการพิทักษ์ชั้นโอโซน เพื่อปกป้องสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากผลกระทบของโอโซนลดลง  อ่าน...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข


สถานการณ์และปัญหาการเมืองไทย
     จนเกิดอาการ “จุดติด” และด้วยสาเหตุของการออกมาประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลของ ส.ส. เพื่อไทย ส่งผลให้ผู้คนออกมาประท้วงต่อเนื่องที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด จนการประท้วงร่างกฎหมายต่างๆ ได้ถูกยกระดับเป็นการ “โค่นล้มระบอบทักษิณ” ในที่สุด  อ่าน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พลเมืองดี


  ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลอื่น  อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม

 ความหมายของวัฒนธรรม
          วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
                พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ 2 นัย ดังนี้
                1.สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทยวัฒนธรรมในการแต่งกาย เป็นต้น
                2.วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา เป็นต้น

                วัฒนธรรม เป็นแบบแผนที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมพื้นฐานและความจำเป็นของมนุษย์ ได้แก่ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค สำหรับการปรับตัว แก้ปัญหา พัฒนาวิถีการดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางกาย เช่น การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และทางใจ เช่น ศาสนา ประเพณี ความเชื่อต่างๆ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาทางสังคม

ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด  เพราะเป็นสถาบันพื้นฐานที่มี      บทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม  เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการ  ถ่ายทอดค่านิยม  ปลูกฝังความเชื่อ  สร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฏิบัติตน รวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่ สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมอ่านเพิ่มเติม